การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร
และเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ ดังรูปที่ 1.13 โดยในปี พ.ศ. 2520
เป็นปีที่มีการใช้เอทีเอ็มเครื่องแรกของโลก ธนาคารซิตี้แบงก์ ในเมืองนิวยอร์กเริ่มให้บริการฝากและถอนเงินโดยอัตโนมัติแก่ลูกค้า ซึ่งสามารถให้บริการได้ตลอด
24 ชั่วโมง รวมทั้งเสาร์-อาทิตย์ด้วย ในขณะที่ธนาคารอื่นๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ บนถนนสายเดียวกันให้บริการลูกค้าในเวลาปกติเท่านั้น คือ เฉพาะจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-14.00น. หลังจากบ่ายสองโมงก็หมดโอกาสได้รับบริการฝากถอนเงินแล้ว เมื่อวิเคราะห์มุมมองในการแข่งขันของธนาคารในการให้บริการลูกค้า กล่าวได้ว่า ระบบเอทีเอ็มของธนาคารซิตี้แบงก์เป็นบริการใหม่ที่ทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบาย และคล่องตัวได้ดึงดูดลูกค้าจากธนาคารอื่นมาเป็นลูกค้าของตัวอง
และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดขึ้นมาเกือบสามเท่าตัวในช่วงเวลาประมาณ 6 เดือน ก่อนที่ธนาคารคู่แข่งจะหันมาให้บริการเอทีเอ็มบ้าง
ตู้ฝากถอนเงินในระบบเอทีเอ็ม
การนำเอาเทคโนโลยีเอทีเอ็มเข้ามาใช้ก่อนเป็นรายแรก สร้างความได้เปรียบเชิงธุรกิจเหนือคู่แข่งเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกในเมืองใหญ่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นซิดนีย์ โตเกียว ปารีส และรวมทั้งกรุงเทพฯด้วย กล่าวคือ ธนาคารใดในเมืองเหล่านั้นที่ใช้เทคโนโลยีเอทีเอ็มได้ก่อนและให้บริการที่เหนือว่า ก็สามารถดึงส่วนแบ่งการตลาดได้สูงมากเหนือคู่แข่ง เนื่องจากได้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นกลยุทธ์การแข่งขันในแง่การปรับปรุงการ บริการลูกค้า เช่น ปรากฏการณ์ที่ธนาคารไทยพาณิชย์นำระบบคอมพิวเตอร์แบบเชื่อมตรงมาบริการการใช้เอทีเอ็ม และประสบความสำเร็จได้ก่อนจึงมีโอกาสดึงส่วนแบ่งการตลาดได้สูง
เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของระบบเอทีเอ็มก็คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่รวบรวมระบบข้อมูลบัญชีเงินฝากของลูกค้าธนาคารไว้ในฐานข้อมูลกับเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลทำให้สามารถเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ออกไปทั่วเมือง ทั่วประเทศ หรือทั่วโลกได้ ผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มสามารถเบิกเงินจากธนาคารได้จากตู้เอทีเอ็มที่ติดตั้งอยู่ทั่วไป ทุกครั้งที่ลูกค้าใช้บัตรเอทีเอ็มจากตู้เอทีเอ็มจะมีการสื่อสารข้อมูลไปยัง ฐานข้อมูลกลางที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารที่เก็บข้อมูลยอดเงินฝากและรายการเงินฝากถอนเงินของลูกค้า ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะสำคัญที่เรียกว่าเป็นฐานข้อมูลกลาง ในความหมายที่ว่า ลูกค้ามีบัญชีเงินฝากในธนาคารแห่งนั้นๆ จะมีข้อมูลอยู่ที่ฐานข้อมูลกลางเพียงชุดเดียว และด้วยระบบการสื่อสารข้อมูลในลักษณะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้จากระยะไกล นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังช่วยจัดการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น การฝาก การโอน และการถอน ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เทคโนโลยีฐานข้อมูลกลางทำให้สามารถเก็บข้อมูลต่างๆ ได้เพียงชุดเดียวไม่จำเป็นต้องสำเนาหลายชุด สามารถเรียกใช้แก้ไขได้จากระยะไกล และเมื่อมีการแก้ไขแล้วทุกคนที่เข้ามาใช้ข้อมูลในภายหลังก็จะได้รับข้อมูลที่ทันสมัย การประมวลผลอัตโนมัติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายนี้ เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นความสำคัญของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถนำมาประยุกต์ในงานต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรและธุรกิจได้อีกมากมาย
การลงทะเบียนเรียน
การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง นักศึกษาแต่ละคนสามารถเลือกเรียนวิชาที่สนใจได้ แต่ต้องเป็นวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร การลงทะเบียนแต่ละวิชามีข้อจำกัด คือ จำนวนนักศึกษาแต่ละห้องมีจำนวนจำกัด ดังนั้นการลงทะเบียนเรียนจึงต้องอาศัยข้อมูลจากการประมวลผลแบบเชื่อมตรง เพื่อให้สามารถตรวจสอบการลงทะเบียนได้ทันทีว่า มีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง วิชาใดมีผู้สมัครเรียนเต็มแล้ว ถ้าเต็มแล้วสามารถเปลี่ยนกลุ่ม หรือวิชาอื่นๆใดแทนได้บ้าง
ขั้นตอนของการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาของมหาลัยแห่งหนึ่ง
มีดังนี้
1) นักศึกษานำรายวิชาที่ตนเองสนใจจะเรียน
ปรึกษากลับอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา
จึงนำไปลงทะเบียนเรียนได้
2) นักศึกษานำเอกสารการลงทะเบียนที่มีรายมือชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา มาพบกับเจ้าหน้าที่ลงทะเบียน เจ้าหน้าที่ลงทะเบียนป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำการตรวจสอบวิชาที่บันทึกแต่ละวิชาว่าติดขัดข้อกำหนด ใดหรือไม่ เช่น มีผู้ลงทะเบียนวิชานั้นเต็มแล้ว ไม่สามารถลงทะเบียนได้ ต้องให้นักศึกษาเปลี่ยนกลุ่มเรียน หรือหากต้องการลงทะเบียนวิชาใหม่ ก็ต้องกลับไปขอความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาอีกครั้ง
3) โปรแกรมพิมพ์รายการที่นักศึกษาลงทะเบียนทั้งหมด พร้อมทั้งคิดค่าใช้จ่ายที่นักศึกษาต้องจ่ายเป็นค่าลงทะเบียนเรียน
4) นักศึกษาจ่ายเงินและรับเอกสารใบเสร็จที่พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์
5) เมื่อลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีข้อมูลในฐานข้อมูลที่บงบอกได้ว่า แต่ละวิชามีนักศึกษาผู้ใดลงทะเบียนเรียนบ้าง นักศึกษาลงทะเบียนรวมทั้งสิ้นกี่คน พร้อมทั้งพิมพ์รายงานการลงทะเบียนของนักศึกษาในแต่ละวิชา แจ้งให้อาจารย์ผู้สอนวิชานั้นๆ ทราบ
6) ในกรณีที่นักศึกษาต้องการเพิ่มหรือถอนการลงทะเบียนในภายหลัง ซึ่งอยู่ในระยะเวลาที่อนุญาต นักศึกษาสามารถดำเนินการโดยขออนุญาตการเพิ่มหรือถอนจากอาจารย์ที่ปรึกษาและ อาจารย์ประจำวิชา แล้วนำเอกสารให้เจ้าหน้าที่ป้อนรหัสวิชาที่เพิ่มหรือถอน โปรแกรมจะตรวจสอบกับฐานข้อมูล และพิมพ์รายการทางด้านการเงิน พร้อมทั้งปรับปรุงฐานข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ ข้อมูลในระบบการลงทะเบียนของสถานศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงและทำให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา สามารถเรียกใช้หรือตรวจสอบข้อมูลได้ทันที ข้อมูลเหล่านี้จะนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาต่างๆ เช่น การจัดตารางสอน การจัดห้องสอบ การปรับปรุงข้อมูลคะแนน รวมถึงการรายงานผลต่างๆ
2) นักศึกษานำเอกสารการลงทะเบียนที่มีรายมือชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา มาพบกับเจ้าหน้าที่ลงทะเบียน เจ้าหน้าที่ลงทะเบียนป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำการตรวจสอบวิชาที่บันทึกแต่ละวิชาว่าติดขัดข้อกำหนด ใดหรือไม่ เช่น มีผู้ลงทะเบียนวิชานั้นเต็มแล้ว ไม่สามารถลงทะเบียนได้ ต้องให้นักศึกษาเปลี่ยนกลุ่มเรียน หรือหากต้องการลงทะเบียนวิชาใหม่ ก็ต้องกลับไปขอความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาอีกครั้ง
3) โปรแกรมพิมพ์รายการที่นักศึกษาลงทะเบียนทั้งหมด พร้อมทั้งคิดค่าใช้จ่ายที่นักศึกษาต้องจ่ายเป็นค่าลงทะเบียนเรียน
4) นักศึกษาจ่ายเงินและรับเอกสารใบเสร็จที่พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์
5) เมื่อลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีข้อมูลในฐานข้อมูลที่บงบอกได้ว่า แต่ละวิชามีนักศึกษาผู้ใดลงทะเบียนเรียนบ้าง นักศึกษาลงทะเบียนรวมทั้งสิ้นกี่คน พร้อมทั้งพิมพ์รายงานการลงทะเบียนของนักศึกษาในแต่ละวิชา แจ้งให้อาจารย์ผู้สอนวิชานั้นๆ ทราบ
6) ในกรณีที่นักศึกษาต้องการเพิ่มหรือถอนการลงทะเบียนในภายหลัง ซึ่งอยู่ในระยะเวลาที่อนุญาต นักศึกษาสามารถดำเนินการโดยขออนุญาตการเพิ่มหรือถอนจากอาจารย์ที่ปรึกษาและ อาจารย์ประจำวิชา แล้วนำเอกสารให้เจ้าหน้าที่ป้อนรหัสวิชาที่เพิ่มหรือถอน โปรแกรมจะตรวจสอบกับฐานข้อมูล และพิมพ์รายการทางด้านการเงิน พร้อมทั้งปรับปรุงฐานข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ ข้อมูลในระบบการลงทะเบียนของสถานศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงและทำให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา สามารถเรียกใช้หรือตรวจสอบข้อมูลได้ทันที ข้อมูลเหล่านี้จะนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาต่างๆ เช่น การจัดตารางสอน การจัดห้องสอบ การปรับปรุงข้อมูลคะแนน รวมถึงการรายงานผลต่างๆ
การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต
การเติบโตของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้มีผู้ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทำให้การสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ตทำได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าระบบการสื่อสารแบบอื่น การสื่อสารที่นิยมบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การรับส่งข้อมูลกับการแลกเปลี่ยน โอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน การส่งอีเมล์ การกระจายทำการในรูปแบบเว็บเพจ ตลอดจนการโต้ตอบสื่อสารแบบส่งข้อความและการประยุกต์ในเรื่องธุรกิจอีกมากมาย การประยุกต์ที่น่าสนใจบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่ง คือ ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีคอมเมิร์ซ ( electronic commerce : e-commerce ) หรือการค้าขายบนเครือข่าย อินเตอร์เน็ต มีการตั้งร้านค้าบนอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก ผู้ตั้งร้านค้าใช้เว็บเพจนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆซึ่งทำให้ผู้เข้าใช้บริการสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกประเทศ เป็นการเปิดร้านค้าที่มีลูกค้าเข้าเยี่ยมชมจากที่ต่าง ๆ ได้ทั่วทุกมุมโลก ตัวอย่างเช่น ร้านหนังสือหลายแห่งที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต นำเสนอรายการและตัวอย่างหนังสือบนเครือข่าย มีหนังสือที่ทางร้านนำเสนอหลายแสนเล่ม มีระบบเครือข่ายค้นหาหนังสือเล่มที่ต้องการ และหากสนใจติดต่อสั่งซื้อก็กรอกลงในแบบฟอร์มการสั่งซื้อ มีระบบการชำระเงินได้หลายแบบ เช่น ระบบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ระบบการโอนเงินผ่านธนาคาร ระบบการนำสินค้าส่งถึงที่แล้วจึงค่อยชำระเงิน การจัดส่งสินค้าก็ทำได้รวดเร็ว มีเครือข่ายการส่งสินค้าได้ทั่วโลกผ่านทางบริษัทจัดส่งสินค้าแบบเร่งด่วน ระบบการค้าขายบนอินเตอร์เน็ตจึงเติบโตและมีผู้นิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะข้อดีคือสามารถนำเสนอสินค้าให้กับลูกค้าได้กว้างขวาง สินค้าบางอย่างเป็นสินค้าที่มีมากและราคาถูกในท้องที่หนึ่ง แต่อาจเป็นที่ต้องการในอีกที่หนึ่ง เช่น คนไทยสามารถส่งปลาทูขายผ่านระบบอีคอมเมิร์ซไปยังผู้บริโภคแถบประเทศตะวันออกกลาง โดยระบบบรรจุหีบห่อแช่แข็งขนาดเล็ก ส่งผ่านบริษัทจัดส่งสินค้าเร่งด่วนไปยังผู้บริโภคได้ นอกจากนี้สินค้าประเภทหัตถกรรมไทยจำนวนมากก็เป็นที่ต้องการของต่างประเทศ การนำเสนอสินค้าผ่านทางเครือข่ายจึงเป็นหนทางของการเปิดตลาดให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น จนในปัจจุบันมีผู้ตั้งร้านค้าบนเครือข่ายมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม
ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีการขายสินค้า
ผู้ซื้อต้องลงทะเบียนเพื่อสั่งสินค้าและชำระเงินผ่านบัตรเครดิต
นอกจากการทำการค้าบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแล้ว บริษัท ห้างร้าน และหน่วยงานราชการต่าง ๆ ก็หันมาดำเนินกิจการหรือให้บริการทางอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้บริการสะดวกสบายขึ้น โรงแรมและการท่องเที่ยวเสนอบริการและการจองเข้าพักโรงแรม หรือการซื้อตั๋วเครื่องบินผ่านทางอินเตอร์เน็ต กรมสรรพากรเสนอบริการให้ผู้เสียภาษียื่นแบบรายการการเสียภาษีผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ผู้คนหลายแสนคนที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบรายการเสียภาษีไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ผู้เสียภาษีสามารถยื่นแบบรายการเสียภาษีได้จากที่ทำงานหรือที่บ้าน ทำให้ลดปัญหาเรื่องการเดินทางและการจราจรได้มาก
ตัวอย่างเว็บไซต์ของกรมสรรพากรที่ให้ประชาชนยื่นแบบชำระภาษีผ่านทางอินเตอร์เน็ต
บริษัทและหน่วยงานทางธุรกิจจำนวนมากใช้ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การส่งใบสั่งซื้อสินค้าในรูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์ การตรวจสอบรายการสินค้าตามห้างร้านค้าปลีกแบบออนไลน์ การโต้ตอบธุรกรรมต่าง ๆ ทำให้ลดการใช้กระดาษ และทำให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการรัฐบาลมีเป้าหมายให้ทุกหน่วยราชการดำเนินกิจกรรมต่างๆบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเช่นกันการแลกเปลี่ยนข้อมูลทำงานบนเครือข่าย ทำให้เกิดการดำเนินกิจกรรมที่เรียกว่า อีกอปเวอร์นเมนต์ (E-Government) เช่น เมื่อประชาชนติดต่อกระทรวงต่างประเทศเพื่อขอหนังสือเดินทาง กระทรวงต่างประเทศต้องการตรวจสอบบุคคล ก็สามารถเชื่อมโยงเรียกใช้ข้อมูลสำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนได้จากสำนักทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย ได้โดยตรงและทันที ทำให้การตรวจสอบบุคคลแม่นยำถูกต้อง โดยประชาชนผู้ขอใช้บริการไม่ต้องถ่ายสำเนาและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐทำให้การบริการประชาชนมีความรวดเร็วและเป็นที่ปรารถนาของประชาชน นอกจากนี้รัฐบาลยังส่งเสริมให้หน่วยงานราชการดำเนินกิจกรรมต่างๆกับบริษัท ห้างร้าน เช่น การประมูลซื้อสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยหน่วยงานรัฐจะเสนอรายการซื้อสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต และให้บริษัทผู้ขายเสนอราคาผ่านทางอินเตอร์เน็ต ทำให้การประมูลจัดซื้อของทางราชการมีความรวดเร็ว สะดวก และมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
เพื่อที่จะให้เข้าใจความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
เราคงจะต้องทำความเข้าใจกับคำต่างๆ ที่ประกอบเป็นคำนี้ อันได้แก่ เทคโนโลยี สาร
และสนเทศ
เทคโนโลยีมีความหมายถึง การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต่องานปฏิบัติทั้งหลาย เพื่อให้งานนั้นมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
สารสนเทศ อ่านว่า สาระ-สน-เทศสาร หรือ สาระ เป็นคำประกอบหน้าคำ แปลว่า สำคัญ สนเทศ หมายถึง คำสั่ง ข่าวสาร ใบบอก
สารสนเทศ จึงหมายถึงข่าวสารที่สำคัญ เป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้นภายในองค์การต่างๆ ตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์การนั้นๆ
สารสนเทศ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Information
สำหรับคำว่า Information นั้น พจนานุกรมเวบสเตอร์ ให้ความหมายไว้ว่า ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศ เป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติ จึงได้มีการประมวลความหมายของสารสนเทศไว้ใกล้เคียงกัน ดังนี้
เทคโนโลยีมีความหมายถึง การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต่องานปฏิบัติทั้งหลาย เพื่อให้งานนั้นมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
สารสนเทศ อ่านว่า สาระ-สน-เทศสาร หรือ สาระ เป็นคำประกอบหน้าคำ แปลว่า สำคัญ สนเทศ หมายถึง คำสั่ง ข่าวสาร ใบบอก
สารสนเทศ จึงหมายถึงข่าวสารที่สำคัญ เป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้นภายในองค์การต่างๆ ตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์การนั้นๆ
สารสนเทศ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Information
สำหรับคำว่า Information นั้น พจนานุกรมเวบสเตอร์ ให้ความหมายไว้ว่า ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศ เป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติ จึงได้มีการประมวลความหมายของสารสนเทศไว้ใกล้เคียงกัน ดังนี้
สารสนเทศ
หมายถึงข้อมูลทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพที่ประมวลจัดหมวดหมู่ เปรียบเทียบ
และวิเคราะห์แล้วสามารถนำมาใช้ได้
หรือนำมาประกอบการพิจารณาได้สะดวกกว่าและง่ายกว่า
สารสนเทศ
คือข้อมูลที่ได้รับการประมวลให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายต่อผู้รับ
และมีทั้งคุณค่าอันแท้จริง หรือที่คาดการณ์ว่าจะมีสำหรับการดำเนินงานหรือการตัดสินใจในปัจจุบันและอนาคต
สารสนเทศ หมายถึง
ข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบมาคำนวณทางสถิติ หรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำมาใช้งานได้ทันที
หากพิจารณาจากความหมายของสารสนเทศที่กล่าวมาแล้วนี้
จะเห็นว่าสารสนเทศมีคุณลักษณะที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1. เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว
2. เป็นรูปแบบที่มีประโยชน์ นำไปใช้งานได้ 3. มีคุณค่าสำหรับใช้ในการดำเนินงานและการตัดสินใจ |
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ ประมวลผล และเผยแพร่สารสนเทศ ซึ่งได้แก่
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีคมนาคม
เทคโนโลยีสารสนเทศ
ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Information Technology หรือ IT
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา
อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล
การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา
การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน
อาทิ
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม 3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ 4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา 5. ระบบสารสนเทศเอกสาร |
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT)
ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม
สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา
ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ
หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล
และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ
ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ
ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่
บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ
หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง
|
|
|
รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ
เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม
และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง
"คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น
โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี
ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย
ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน
และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ
มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี
ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ
ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่
ช่วงที่
1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539) ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540) ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป) |
การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น
ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก
คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4
(พ.ศ. 2520-2524)
ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม
มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา
สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522
ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดยหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลาง ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดยหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลาง ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ประเทศไทยได้เริ่มใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นเวลานานกว่า
30 ปีแล้ว เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2506
เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกเป็นเครื่อง
IBM 1401 ติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ
เพื่อจัดทำสถิติและสัมมโนประชากร ต่อมา พ.ศ. 2527 รัฐบาลได้แต่งตั้ง
"คณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติ"
ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติการจัดหาคอมพิวเตอร์ของส่วนราชการ พ.ศ. 2534
รัฐบาลได้ยุบคณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
เพื่อให้หน่วยราชการต่างๆ มีความคล่องตัวในการจัดหาคอมพิวเตอร์
เพราะคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง และนิยมใช้แพร่หลายขึ้น
พ.ศ. 2535 มีการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ จากนั้นคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติได้แต่งตั้งอนุกรรมการด้านต่างๆ 7 ด้านได้แก่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ การค้าระหว่างประเทศ การวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีสาร-สนเทศ การวางแผนพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ การพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ และการส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
พ.ศ. 2535 มีการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ จากนั้นคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติได้แต่งตั้งอนุกรรมการด้านต่างๆ 7 ด้านได้แก่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ การค้าระหว่างประเทศ การวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีสาร-สนเทศ การวางแผนพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ การพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ และการส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
|
|
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่
4 (พ.ศ. 2520-2524) รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีคมนาคม เข้ามาใช้ในการจัด การพัฒนา
และเผยแพร่สารสนเทศให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ
โดยเฉพาะในด้านการศึกษา ภายใต้การประสานงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
การดำเนินการด้านนี้กล่าวโดยสรุปได้ ดังนี้
1. พ.ศ. 2522 กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้น ได้นำระบบ Mainframe มาใช้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 และขยายเครือข่าย On-line ไปยังกรมต่างๆ ในสังกัด 14 กรม รวมทั้งการเชื่อมโยงกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ นอกจากนี้ยังได้จัดหาอุปกรณ์ไมโครคอมพิวเตอร์ให้หน่วยงานศึกษาธิการในระดับเขตการศึกษา ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ สำหรับการพัฒนาระบบสารสนเทศมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหารและการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
2. ศูนย์สารสนเทศทบวงมหาวิทยาลัย มีระบบคอมพิวเตอร์ทั้งระดับ Mainframe และ Mini Computer และไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ สำหรับการวางแผนและการบริหารกิจกรรมในทบวงมหาวิทยาลัย
3. สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ มีความก้าวหน้าในการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารการเรียนการสอน การทะเบียน การวิจัย และประเมินผล รวมทั้งการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสถาบันต่างๆ เช่น เครือข่าย Internet ไทยสาร CUNET และ PULINET
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีศูนย์สารสนเทศทางการศึกษา รับผิดชอบในการวางแผนและพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานต่างๆ
ในขณะนี้ได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาแล้วได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ เครือข่ายสารสนเทศทบวงมหาวิทยาลัย เครือข่ายสารสนเทศสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เครือข่ายสารสนเทศสาธารณะ อันได้แก่ เครือข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมทั้งหลาย และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามีกว้างขวางขึ้น
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ได้ทดลองดำเนินการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศโรงเรียนเมื่อ พ.ศ. 2538 โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้โรงเรียนทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดได้มีและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาและการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ยกระดับการศึกษาของเยาวชนไทย และส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ที่มีอยู่ทั่วโลก โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ การดำเนินงานมีโครงการย่อย 3 โครงการ
1. โครงการอินเตอร์เน็ตมัธยม โดยเน้นการติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้โรงเรียนสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
2. โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในชนบท เน้นการจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เบื้องต้นให้แก่โรงเรียน เพื่อใช้ในการพิมพ์และคำนวณอย่างง่าย ผู้รับผิดชอบโครงการได้แก่ คณะกรรมการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับกรมสามัญศึกษาและบริษัทที่สนับสนุนโครงการ
3. โครงการจัดตั้งตู้หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการจัดสร้างตู้หนังสือที่รวบรวมหนังสือเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่อ่านได้ทั่วไปเพื่อให้ครูและนักเรียนได้ใช้ศึกษาค้นคว้า
นอกจากนี้แล้วยังสามารถทำเพื่อการประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรโดยการประชาสัมพันธ์นั้นถือเป็นหน้าตาขององค์กรที่จะสร้างความประทับใจแรกพบของกลุ่มประชาชนเป้าหมาย ในปัจจุบันทุกหน่วยงานล้วนแล้วแต่ให้ความสำคัญกับงานประชาสัมพันธ์ ได้พยายามหาเทคนิควิธีต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์งานประชาสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพ สื่อประชาสัมพันธ์ทางอินเตอร์เน็ตจึงเป็นสื่อสำคัญที่นำมาใช้ในการประชาสัมพันธ์ทางการศึกษา
การสร้างงานประชาสัมพันธ์นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรหรือสถาบันผู้ที่ทำหน้าที่ในการนำงานประชาสัมพันธ์สื่อสายตาประชาชน ข่าวสารในการประชาสัมพันธ์ได้แก่เนื้อหาสาระที่จะส่งไปยังกลุ่มเป้าหมาย สื่อในการประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่นำข่าวสารผ่านสื่อหรือช่องทางไปยังกลุ่มเป้าหมายในการประชาสัมพันธ์นั้นๆ เพื่อให้ได้รับเนื้อหาสาระจากสื่อในการประชาสัมพันธ์ สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญคือการเลือกสื่อในการประชาสัมพันธ์ สื่อในการประชาสัมพันธ์นั้นจะต้องมีความเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างไกล มีความน่าสนใจในตัวของสื่อเอง โดยสื่อที่จำกล่าวถึงนี้คือ การนำสื่ออินเตอร์เน็ตมาใช้ในประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ทางการศึกษา
1. พ.ศ. 2522 กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้น ได้นำระบบ Mainframe มาใช้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 และขยายเครือข่าย On-line ไปยังกรมต่างๆ ในสังกัด 14 กรม รวมทั้งการเชื่อมโยงกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ นอกจากนี้ยังได้จัดหาอุปกรณ์ไมโครคอมพิวเตอร์ให้หน่วยงานศึกษาธิการในระดับเขตการศึกษา ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ สำหรับการพัฒนาระบบสารสนเทศมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหารและการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
2. ศูนย์สารสนเทศทบวงมหาวิทยาลัย มีระบบคอมพิวเตอร์ทั้งระดับ Mainframe และ Mini Computer และไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ สำหรับการวางแผนและการบริหารกิจกรรมในทบวงมหาวิทยาลัย
3. สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ มีความก้าวหน้าในการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารการเรียนการสอน การทะเบียน การวิจัย และประเมินผล รวมทั้งการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสถาบันต่างๆ เช่น เครือข่าย Internet ไทยสาร CUNET และ PULINET
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีศูนย์สารสนเทศทางการศึกษา รับผิดชอบในการวางแผนและพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานต่างๆ
ในขณะนี้ได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาแล้วได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ เครือข่ายสารสนเทศทบวงมหาวิทยาลัย เครือข่ายสารสนเทศสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เครือข่ายสารสนเทศสาธารณะ อันได้แก่ เครือข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมทั้งหลาย และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามีกว้างขวางขึ้น
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ได้ทดลองดำเนินการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศโรงเรียนเมื่อ พ.ศ. 2538 โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้โรงเรียนทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดได้มีและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาและการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ยกระดับการศึกษาของเยาวชนไทย และส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ที่มีอยู่ทั่วโลก โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ การดำเนินงานมีโครงการย่อย 3 โครงการ
1. โครงการอินเตอร์เน็ตมัธยม โดยเน้นการติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้โรงเรียนสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
2. โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในชนบท เน้นการจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เบื้องต้นให้แก่โรงเรียน เพื่อใช้ในการพิมพ์และคำนวณอย่างง่าย ผู้รับผิดชอบโครงการได้แก่ คณะกรรมการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับกรมสามัญศึกษาและบริษัทที่สนับสนุนโครงการ
3. โครงการจัดตั้งตู้หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการจัดสร้างตู้หนังสือที่รวบรวมหนังสือเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่อ่านได้ทั่วไปเพื่อให้ครูและนักเรียนได้ใช้ศึกษาค้นคว้า
นอกจากนี้แล้วยังสามารถทำเพื่อการประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรโดยการประชาสัมพันธ์นั้นถือเป็นหน้าตาขององค์กรที่จะสร้างความประทับใจแรกพบของกลุ่มประชาชนเป้าหมาย ในปัจจุบันทุกหน่วยงานล้วนแล้วแต่ให้ความสำคัญกับงานประชาสัมพันธ์ ได้พยายามหาเทคนิควิธีต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์งานประชาสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพ สื่อประชาสัมพันธ์ทางอินเตอร์เน็ตจึงเป็นสื่อสำคัญที่นำมาใช้ในการประชาสัมพันธ์ทางการศึกษา
การสร้างงานประชาสัมพันธ์นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรหรือสถาบันผู้ที่ทำหน้าที่ในการนำงานประชาสัมพันธ์สื่อสายตาประชาชน ข่าวสารในการประชาสัมพันธ์ได้แก่เนื้อหาสาระที่จะส่งไปยังกลุ่มเป้าหมาย สื่อในการประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่นำข่าวสารผ่านสื่อหรือช่องทางไปยังกลุ่มเป้าหมายในการประชาสัมพันธ์นั้นๆ เพื่อให้ได้รับเนื้อหาสาระจากสื่อในการประชาสัมพันธ์ สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญคือการเลือกสื่อในการประชาสัมพันธ์ สื่อในการประชาสัมพันธ์นั้นจะต้องมีความเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างไกล มีความน่าสนใจในตัวของสื่อเอง โดยสื่อที่จำกล่าวถึงนี้คือ การนำสื่ออินเตอร์เน็ตมาใช้ในประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ทางการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
|
|
|
||||||
|
การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการศึกษา
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษา
และใช้เป็นเครื่องมือในการสอน การใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาเกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา
ซึ่งผู้บริหารการศึกษา จำเป็นต้องทราบสารนิเทศต่าง ๆ ทางด้าน นักศึกษา
ด้านแผนการเรียน ด้านบุคลากร ด้านการเงิน และด้านอาคารสถานที่และอุปกรณ์
ข้อมูลแต่ละด้านที่ได้จากคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารการศึกษาสามารถนำมาใช้ช่วย
ในการตัดสินใจได้ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นเครื่องมือในการสอน เป็นการช่วยให้ครูใช้ความรู้
ความสามารถพิเศษให้เป็นประโยชน์แก่ระบบการศึกษาได้มากขึ้น การนำคอมพิวเตอร์เข้า มามีส่วนช่วยในการสอน และการศึกษามีประโยชน์ในเรื่องดังต่อไปนี้
คือ
1. เพื่อการสอนแบบตัวต่อตัว
2. เพื่อฝึกทักษะต่าง ๆ ในการเรียน
3. เพื่อการสาธิต
4. เพื่อการเล่นเกมและสถานการณ์จำลอง
5. เพื่อสอนงานด้านการเขียน
6. เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอน
7. เพื่อช่วยผู้เรียนที่มีปัญหาเฉพาะตัว
ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์กำลังมีบทบาทต่อการศึกษาด้านภาษา เป็นเพราะว่าแต่เดิมมานั้น คอมพิวเตอร์มีบทบาท เฉพาะการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นในประเทศที่ใช้ ภาษาอังกฤษ แต่ในขณะนี้สังคมข่าวสารไม่ ได้สกัดกั้นในการรับรู้สารนิเทศในภาษาอื่น ๆ มีการสร้างโปรแกรม ภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาเลียน รัสเซีย สเปน และแม้แต่ภาษาทางด้านตะวันออก เช่น ภาษาอารบิค จีน ฮิบรู ญี่ปุ่น เกาหลี การสร้างโปรแกรมภาษาต่าง ๆ จัดทำโดยผู้ที่รู้ภาษานั้น ๆ โดยตรง หรือผู้ที่สนใจในการสร้าง โปรแกรมภาษาต่าง ๆ เช่น การสร้างโปรแกรม การใช้ภาษาไทย หรือ ภาษาลาว ตลอดจนการใช้โปรแกรมภาษาพม่า ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นโดย วิศวกรไทย คอมพิวเตอร์จะเป็นตัวกลางในการขจัดปัญหาเรื่องความไม่เข้าใจภาษาระหว่าง ชนชาติในอนาคต ในประเทศสหรัฐอเมริกา คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีบทบาทในด้าน การศึกษา มี การใช้คอมพิวเตอร์ มากขึ้นในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา มีการคาดหมายว่าจะมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในชั้นเรียน จาก 1:40 ในปี พ.ศ. 2529 เป็น 1 ต่อ 20 ภายในปี พ.ศ. 2533 คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร ทางด้านการศึกษาได้ เป็นอย่างดีไม่เฉพาะแต่ภายในสถานศึกษาเท่านั้น บริษัทเอกชนต่าง ๆ สามารถนำคอมพิวเตอร์ มาใช้ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของตน ให้ได้รับการศึกษา หรือฝึกอบรมในงานหน้าที่ได้เป็นอย่าง ดีด้วย การใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษา จะเป็นเรื่องธรรมดาในระบบการศึกษาต่อไป
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
คอมพิวเตอร์มีบทบาทอย่างสูงทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวย ความสะดวก อย่างยิ่งในด้านการแพทย์ เริ่มตั้งแต่การรักษาพยาบาล ทั่ว ๆไป โรงพยาบาลบางแห่งใช้คอมพิวเตอร์ ในการทำทะเบียนคนไข้ ตลอดจนการวินิจฉัย และรักษาโรคต่าง ๆ จากการใช้ประโยชน์ของสารนิเทศที่ได้ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขอาจเกี่ยวข้องในด้านต่อไปนี้ คือ ด้านการ รักษาพยาบาลทั่วไป ด้านการบริหารการแพทย์ ด้านห้องทดลอง ด้านตรวจวินิจฉัยโรค และด้านการศึกษา และวิจัยทางการแพทย์ การใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้านการแพทย์และ สาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบันคือ ด้านวินิจฉัยโรคและด้านการศึกษาและวิจัยทางการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถค้นคว้าข้อมูลทาง การแพทย์เพิ่มเติมได้ตลอดเวลา เป็นการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และการสาธารณสุข อย่างไม่หยุดยั้ง คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการให้ข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยโรค สำหรับทำการรักษา ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น ในวงการแพทย์เริ่มรู้จักใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ (EMI Scanner) เมื่อปี พ.ศ. 2515 เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจดูเนื้อ งอก พยาธิ เลือดออกในสมองและความผิดปกติอื่น ๆ ในสมอง ต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่าซีเอที (CAT-Computerized Axial Tomographic Scanner) มีวิธีการฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบ ๆ ร่างกายของมนุษย์ที่ต้องการ ถ่ายเอกซเรย์และเครื่องรับแสงเอ็กซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอกซเรย์ ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าไปเก็บไว้ในจาน หรือแถบแม่เหล็ก แล้ว นำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเ ตอร์ ซึ่งเมื่อได้ผลลัพธ์ออกมาก็นำไป เก็บในส่วนความจำ และพิมพ์ภาพออกมาหรือแสดงเป็นภาพทางจอโทรทัศน์ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จึงเป็นตัวอย่าง ของการใช้คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยและรักษาโรค
ด้านอุตสาหกรรม
คอมพิวเตอร์มีส่วนช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์ เพื่อใช้ในบ้านและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ทั้งนี้หุ่นยนต์จะเป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบการทำงานของอวัยวะ ส่วนบนของมนุษย์ ประกอบด้วยระบบทางกลของหุ่นยนต์ และระบบควบคุมหุ่นยนต์ ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม ซึ่งควบคุมการทำงานของ หุ่นยนต์โดยอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์ นับเป็นส่วนสำคัญที่สุดของหุ่นยนต์ ระบบควบคุมนี้ทำหน้า ที่เป็นสมองเก็บข้อมูลสั่งหุ่นยนต์ ให้ทำงานตรวจสอบและควบคุมรายละเอียดของการทำงาน ให้ถูกต้อง การประดิษฐ์หุ่นยนต์อุตสาหกรรมอำนวยประโยชน์ในการช่วยทำงานใน อุตสาหกรรมที่สำคัญคือ งานที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น โรงงานยา ฆ่าแมลง โรงงานสารเคมี ง านที่ต้องการความละเอียด ถูกต้อง และรวดเร็ว เช่น โรงงาน ทำฟันเฟืองนาฬิกา โรงงานทำเลนส์กล้องถ่ายรูป และงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ ซาก ๆ และ น่าเบื่อหน่าย เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานประกอบวงจรเบ็ดเสร็จ หรือไอซี และโรงงานทำแบตเตอรี่ เป็นต้น การประดิษฐ์สิ่งของหรือผลิตภัณฑ์บางอย่าง ในโรงงานอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทอย่างสูงต่อการ ควบคุม การผลิตสินค้าโดยไม่ต้องใช้แรงงานคนมาก เป็นการประหยัดแรงงาน นอกจากด้านการผลิตสินค้าแล้ว คอมพิวเตอร์ยังมีส่วนช่วยต่อการจัด ส่งสินค้า ตามใบสั่งสินค้า การควบคุมวัสดุคงคลัง และการคิดราคาต้นทุนสินค้า เป็นต้น
ด้านเกษตรกรรม
การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม ได้แก่ การจัดทำระบบ ข้อมูลเพื่อการเกษตร ซึ่งอาจมีทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ สำหรับระดับ นานาชาตินั้น อาจจะเริ่มด้วย สำมะโนเกษตรนานาชาติ ซึ่งสถาบันการเกษตรระหว่างประ เทศ (International Institute of Agriculture) ได้เริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. 2473โดยมีประเทศต่าง ๆ ร่วมเก็บข้อมูล รวม 46 ประเทศ ต่อมาองค์การอาหารและเกษตร(FAO) ได้ดำเนินงานต่อในปี พ.ศ. 2493 และมีประเทศต่าง ๆ ร่วมโครงการเพิ่มเติมมากขึ้น ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ข้อมูลเพื่อเกษตรกรรมทางด้านสำมะโนเกษตร นอกจากนี้ยังใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำแบบจำลอง พยากรณ์ความต้องการ พยากรณ์ผลผลิตด้าน การเกษตร เป็นต้น
ด้านการเงินการธนาคาร
การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการเงินและการธนาคาร เป็นการนำคอมพิวเตอร์มา ช่วยในงานด้านการบัญชี และด้านการบริหาร การฝากถอนเงิน การรับจ่าย การโอนเงิน แบบอิเล็กทรอนิกส์ การหักบัญชีอัตโนมัติ ด้านสินเชื่อ ด้านแลกเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าว สารการธนาคาร บริการฝากถอนเงินนอกเวลาและบริการอื่น ๆ การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่ประชาชนรู้จักและใช้กันอย่างแพร่ หลาย ได้แก่ บริการฝากถอนเงินนอกเวลา ซึ่งมีใช้กันทั้งในต่างประเทศและในประเทศ ไทย ซึ่งเรียกชื่อว่า บริการเงินด่วน หรือบริการเอทีเอ็ม ( Automatic Teller Machine - ATM ) ที่ธนาคารต่าง ๆ สามารถให้บริการเงินด่วนแก่ลูกค้าได้ ทำให้เกิด ความสะดวกรวดเร็วต่อการใช้เงินในการดำเนินงานทางธุรกิจต่างๆ ได้
ด้านธุรกิจการบิน
ธุรกิจสายการบินมีความจำเป็นต้องนำคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อให้สามารถให้บริการได้รวดเร็ว เพื่อการแข่งขันกับ สายการบินอื่น ๆ และเพื่อรักษาความปลอดภัยในการบินโดยช่วยตรวจสอบสภาพเครื่องและอุปกรณ์ได้ อย่างถูกต้องแน่นอนและสม่ำเสมอ ธุรกิจที่มีการนำ คอมพิวเตอร์มาใช้ด้านการบิน อาจแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ผู้โดยสาร สินค้าพัสดุภัณฑ์ และ บริการอื่น ๆ ของสายการบิน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือระบบบริการผู้โดยสาร อาจจะ เริ่มด้วยระบบบันทึกตารางการบิน ซึ่งบันทึกและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลเที่ยวบิน เส้นทางบิน เวลาออกและเวลาถึง จำนวนที่นั่ง สารนิเทศด้านการบริการผู้โดยสารมีความสำคัญอย่างมาก และจำเป็นต้องได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็ว โดยปราศจากปัญหาทางด้านเวลา และสถานที่ รายการบินต่าง ๆ จึงได้แข่งขันในการสร้างฐานข้อมูล ทางด้านนี้ บางสายการบินได้รวมตัวกัน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการใช้สารนิเทศร่วมกัน
ด้านกฎหมายและการปกครอง
ทางด้านกฎหมายและการปกครอง มีการใช้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหาด้านกฎหมาย คืองานระบบข้อมูล ทางกฎหมายมีการนำสารนิเทศที่เกี่ยวข้องกับตัวบทกฎหมายทุกฉบับ รัฐธรรมนูญทุกฉบับ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวงประกาศต่างๆและอื่น ๆ เข้าคอมพิวเตอร์ทั้งหมด หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์จะ ช่วยในการค้นสารนิเทศทางด้านกฏหมายได้อย่างรวดเร็ว ดังตัวอย่างในประเทศ สหรัฐอเมริกา มีการใช้คอมพิวเตอร์ระบบแอสเปน (Aspen System Corporation) ซึ่งเป็นระบบข้อมูล ทางด้านกฎหมายที่ใช้กันมากกว่า 50 แห่ง นักกฎหมายและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงได้ประโยชน์ในการ ค้นสารนิเทศในเวลา อันรวดเร็ว โดยเฉพาะในการค้นข้อมูลเกี่ยวกับคดีต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้น แล้ว เป็นต้น แทนที่จะค้นจากหนังสือ ซึ่งต้องเสียเวลาเป็นอันมาก การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการปกครอง ส่วนใหญ่ใช้ในกิจกรรมการเลือกตั้งดัง เช่นในประเทศไทย เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาล่าสุด มีการใช้คอมพิวเตอร์มาประมวล ผลข้อมูลการเลือกตั้ง ทำให้ประชาชนได้ทราบผลการเลือกตั้งได้อย่างรวดเร็ว
ด้านการทหารและตำรวจ
มีการใช้คอมพิวเตอร์ด้านการทหารและตำรวจ อย่างแพร่หลายในประเทศต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการทหารได้เจริญก้าวหน้าไปมากกว่า ประเทศอื่นใดในโลก แต่ผลงานด้านนี้มักจะเป็น ผลงาน ชนิดลับสุดยอดต่าง ๆ เท่าที่พอจะ ทราบกัน ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ในวงจรสื่อสารทหาร ใช้ในการควบคุม ประสานงาน ด้านการท หารใช้แปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ ใช้ในการผลิตระเบิดนิว เคลียร์ ใช้ในการทำสงครามจิตวิทยา ใช้ในการวิจัยเตรียมทำสงครามเชื้อโรค ใช้ในการสร้างขีปนาวุธ และใช้ในการส่ง ดาวเทียม จารกรรม เป็นต้น กรมตำรวจ กระทรวง มหาดไทย มีศูนย์ประมวลข่าวสารกรมตำรวจ มีคอมพิวเตอร์ ขนาดกลางใช้ทำทะเบียนปืน ทำทะเบียนประวัติอาชญากรรม ทำให้เกิดความสะดวกต่อการสืบสวนคดีต่าง ๆ
ด้านอุตสาหกรรมการพิมพ์และธุรกิจอื่น ๆ
บทบาทของคอมพิวเตอร์ต่อธุรกิจอุตสาหกรรมการพิมพ์ในปัจจุบันมีมาก หน่วยงานทางการพิมพ์ ตลอดจนสำนักข่าวใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดพิมพ์ต้นฉบับ ตรวจแก้ไข จนกระทั่งจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ทำให้การจัดทำหนังสือพิมพ์ วารสาร และหนังสือต่าง ๆดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว และถึงมือผู้อ่านได้อย่างทันท่วงที อุตสาหกรรมการพิมพ์เป็นธุรกิจที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศต่าง ๆ อยู่ในขณะนี้ และเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศ มีรายงานว่ามีเจ้าหน้าที่คนงานในประเทศ สหรัฐอเมริกากว่า 50 ล้านคน ได้ใช้ประโยชน์จากการใช้คอมพิวเตอร์ ในการดำเนินงาน ทางธุรกิจ มีการใช้อุปกรณ์สื่อสารระบบสำนักงาน อัตโนมัติและเทคโนโลยีโทรคมนาคมอื่น ๆ ร่วมกับคอมพิวเตอร์ทำให้การดำเนินงานทาง ธุรกิจต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ไม่มีปัญหา ทางด้านระยะเวลา และสถานที่ต่อการติดต่อทางธุรกิจอีกต่อไป
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์มีมาก ในสถาบันการศึกษา ตลอดจนสถาบันวิจัยต่าง ๆ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น การวิจัยในทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิชาว่าด้วยส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสาร การค้นคว้าทดลองทางวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างไม่หยุดยั้ง เช่น ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มีการใช้คอมพิวเตอร์ ให้มีส่วนร่วมต่อการออกแบบโครงสร้าง ทางวิศวกรรมที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน ทำให้มีส่วนช่วยต่อการออกแบบ ทางด้านวิศวกรรมและ สถาปัตยกรรมได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด บทบาทของคอมพิวเตอร์ทางด้านวิทยาศาสตร์จึงมี ประโยชน์ต่อการพัฒนาข้อมูลสารนิเทศอย่างไม่หยุดยั้ง
จากการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลสารนิเทศโดยระบบโทรคมนาคมคอมพิวเตอร์ มีบทบาทอย่างสูง ต่อการให้บริการข้อมูลอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ผู้ใช้สารนิเทศสามารถเรียกค้นข้อมูลจากผู้ให้บริการ สารนิเทศตั้งแต่เรื่องทั่ว ๆไปจนกระทั่งขอค้นรายละเอียดจากหนังสือสารานุกรมได้ และภายในบ้านเรือน คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการใช้ของสมาชิกภายในครอบครัวทุกคนภายในบ้าน มีโอกาสได้เล่นเกมวีดิทัศน์ ด้วยความบันเทิงสนุกสนาน และ ศึกษาความรู้จากบทเรียนสำเร็จรูป ไปด้วยในตัว คอมพิวเตอร์สำหรับบ้าน เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็น สำหรับนักธุรกิจในการจัดเตรียมจดหมาย การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลสารนิเทศส่วนบุคคล และ การดำเนินงานกิจการต่าง ๆ ของสมาชิกภายในครอบครัว บทบาทของคอมพิวเตอร์ ยังมีอีกมากมายทางด้านต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้สารนิเทศ ต้องการใช้ในด้านใด คอมพิวเตอร์เมื่อนำมาใช้รวมกับระบบโทรคมนาคมการสื่อสาร สามารถจะเปลี่ยนอนาคตของสังคมปัจจุบัน เปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนต่อการทำ กิจกรรมต่าง ๆ สิ่งที่บรรณารักษ์จะหลีกเลี่ยงต่อไปไม่ได้ คือการนำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูล ภายในห้องสมุดโรงเรียน นับตั้งแต่การนำมาใช้แทน เครื่องพิมพ์ดีดในขอบเขตของงานเอกสาร ตลอดจนกระทั่งถึงงานการให้บริการข้อมูลจากฐานข้อมูลสำเร็จรูป หรือ งานฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นเอง
1. เพื่อการสอนแบบตัวต่อตัว
2. เพื่อฝึกทักษะต่าง ๆ ในการเรียน
3. เพื่อการสาธิต
4. เพื่อการเล่นเกมและสถานการณ์จำลอง
5. เพื่อสอนงานด้านการเขียน
6. เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอน
7. เพื่อช่วยผู้เรียนที่มีปัญหาเฉพาะตัว
ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์กำลังมีบทบาทต่อการศึกษาด้านภาษา เป็นเพราะว่าแต่เดิมมานั้น คอมพิวเตอร์มีบทบาท เฉพาะการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นในประเทศที่ใช้ ภาษาอังกฤษ แต่ในขณะนี้สังคมข่าวสารไม่ ได้สกัดกั้นในการรับรู้สารนิเทศในภาษาอื่น ๆ มีการสร้างโปรแกรม ภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาเลียน รัสเซีย สเปน และแม้แต่ภาษาทางด้านตะวันออก เช่น ภาษาอารบิค จีน ฮิบรู ญี่ปุ่น เกาหลี การสร้างโปรแกรมภาษาต่าง ๆ จัดทำโดยผู้ที่รู้ภาษานั้น ๆ โดยตรง หรือผู้ที่สนใจในการสร้าง โปรแกรมภาษาต่าง ๆ เช่น การสร้างโปรแกรม การใช้ภาษาไทย หรือ ภาษาลาว ตลอดจนการใช้โปรแกรมภาษาพม่า ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นโดย วิศวกรไทย คอมพิวเตอร์จะเป็นตัวกลางในการขจัดปัญหาเรื่องความไม่เข้าใจภาษาระหว่าง ชนชาติในอนาคต ในประเทศสหรัฐอเมริกา คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีบทบาทในด้าน การศึกษา มี การใช้คอมพิวเตอร์ มากขึ้นในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา มีการคาดหมายว่าจะมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในชั้นเรียน จาก 1:40 ในปี พ.ศ. 2529 เป็น 1 ต่อ 20 ภายในปี พ.ศ. 2533 คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร ทางด้านการศึกษาได้ เป็นอย่างดีไม่เฉพาะแต่ภายในสถานศึกษาเท่านั้น บริษัทเอกชนต่าง ๆ สามารถนำคอมพิวเตอร์ มาใช้ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของตน ให้ได้รับการศึกษา หรือฝึกอบรมในงานหน้าที่ได้เป็นอย่าง ดีด้วย การใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษา จะเป็นเรื่องธรรมดาในระบบการศึกษาต่อไป
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
คอมพิวเตอร์มีบทบาทอย่างสูงทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวย ความสะดวก อย่างยิ่งในด้านการแพทย์ เริ่มตั้งแต่การรักษาพยาบาล ทั่ว ๆไป โรงพยาบาลบางแห่งใช้คอมพิวเตอร์ ในการทำทะเบียนคนไข้ ตลอดจนการวินิจฉัย และรักษาโรคต่าง ๆ จากการใช้ประโยชน์ของสารนิเทศที่ได้ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขอาจเกี่ยวข้องในด้านต่อไปนี้ คือ ด้านการ รักษาพยาบาลทั่วไป ด้านการบริหารการแพทย์ ด้านห้องทดลอง ด้านตรวจวินิจฉัยโรค และด้านการศึกษา และวิจัยทางการแพทย์ การใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้านการแพทย์และ สาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบันคือ ด้านวินิจฉัยโรคและด้านการศึกษาและวิจัยทางการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถค้นคว้าข้อมูลทาง การแพทย์เพิ่มเติมได้ตลอดเวลา เป็นการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และการสาธารณสุข อย่างไม่หยุดยั้ง คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการให้ข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยโรค สำหรับทำการรักษา ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น ในวงการแพทย์เริ่มรู้จักใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ (EMI Scanner) เมื่อปี พ.ศ. 2515 เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจดูเนื้อ งอก พยาธิ เลือดออกในสมองและความผิดปกติอื่น ๆ ในสมอง ต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่าซีเอที (CAT-Computerized Axial Tomographic Scanner) มีวิธีการฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบ ๆ ร่างกายของมนุษย์ที่ต้องการ ถ่ายเอกซเรย์และเครื่องรับแสงเอ็กซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอกซเรย์ ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าไปเก็บไว้ในจาน หรือแถบแม่เหล็ก แล้ว นำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเ ตอร์ ซึ่งเมื่อได้ผลลัพธ์ออกมาก็นำไป เก็บในส่วนความจำ และพิมพ์ภาพออกมาหรือแสดงเป็นภาพทางจอโทรทัศน์ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จึงเป็นตัวอย่าง ของการใช้คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยและรักษาโรค
ด้านอุตสาหกรรม
คอมพิวเตอร์มีส่วนช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์ เพื่อใช้ในบ้านและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ทั้งนี้หุ่นยนต์จะเป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบการทำงานของอวัยวะ ส่วนบนของมนุษย์ ประกอบด้วยระบบทางกลของหุ่นยนต์ และระบบควบคุมหุ่นยนต์ ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม ซึ่งควบคุมการทำงานของ หุ่นยนต์โดยอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์ นับเป็นส่วนสำคัญที่สุดของหุ่นยนต์ ระบบควบคุมนี้ทำหน้า ที่เป็นสมองเก็บข้อมูลสั่งหุ่นยนต์ ให้ทำงานตรวจสอบและควบคุมรายละเอียดของการทำงาน ให้ถูกต้อง การประดิษฐ์หุ่นยนต์อุตสาหกรรมอำนวยประโยชน์ในการช่วยทำงานใน อุตสาหกรรมที่สำคัญคือ งานที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น โรงงานยา ฆ่าแมลง โรงงานสารเคมี ง านที่ต้องการความละเอียด ถูกต้อง และรวดเร็ว เช่น โรงงาน ทำฟันเฟืองนาฬิกา โรงงานทำเลนส์กล้องถ่ายรูป และงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ ซาก ๆ และ น่าเบื่อหน่าย เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานประกอบวงจรเบ็ดเสร็จ หรือไอซี และโรงงานทำแบตเตอรี่ เป็นต้น การประดิษฐ์สิ่งของหรือผลิตภัณฑ์บางอย่าง ในโรงงานอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทอย่างสูงต่อการ ควบคุม การผลิตสินค้าโดยไม่ต้องใช้แรงงานคนมาก เป็นการประหยัดแรงงาน นอกจากด้านการผลิตสินค้าแล้ว คอมพิวเตอร์ยังมีส่วนช่วยต่อการจัด ส่งสินค้า ตามใบสั่งสินค้า การควบคุมวัสดุคงคลัง และการคิดราคาต้นทุนสินค้า เป็นต้น
ด้านเกษตรกรรม
การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม ได้แก่ การจัดทำระบบ ข้อมูลเพื่อการเกษตร ซึ่งอาจมีทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ สำหรับระดับ นานาชาตินั้น อาจจะเริ่มด้วย สำมะโนเกษตรนานาชาติ ซึ่งสถาบันการเกษตรระหว่างประ เทศ (International Institute of Agriculture) ได้เริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. 2473โดยมีประเทศต่าง ๆ ร่วมเก็บข้อมูล รวม 46 ประเทศ ต่อมาองค์การอาหารและเกษตร(FAO) ได้ดำเนินงานต่อในปี พ.ศ. 2493 และมีประเทศต่าง ๆ ร่วมโครงการเพิ่มเติมมากขึ้น ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ข้อมูลเพื่อเกษตรกรรมทางด้านสำมะโนเกษตร นอกจากนี้ยังใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำแบบจำลอง พยากรณ์ความต้องการ พยากรณ์ผลผลิตด้าน การเกษตร เป็นต้น
ด้านการเงินการธนาคาร
การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการเงินและการธนาคาร เป็นการนำคอมพิวเตอร์มา ช่วยในงานด้านการบัญชี และด้านการบริหาร การฝากถอนเงิน การรับจ่าย การโอนเงิน แบบอิเล็กทรอนิกส์ การหักบัญชีอัตโนมัติ ด้านสินเชื่อ ด้านแลกเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าว สารการธนาคาร บริการฝากถอนเงินนอกเวลาและบริการอื่น ๆ การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่ประชาชนรู้จักและใช้กันอย่างแพร่ หลาย ได้แก่ บริการฝากถอนเงินนอกเวลา ซึ่งมีใช้กันทั้งในต่างประเทศและในประเทศ ไทย ซึ่งเรียกชื่อว่า บริการเงินด่วน หรือบริการเอทีเอ็ม ( Automatic Teller Machine - ATM ) ที่ธนาคารต่าง ๆ สามารถให้บริการเงินด่วนแก่ลูกค้าได้ ทำให้เกิด ความสะดวกรวดเร็วต่อการใช้เงินในการดำเนินงานทางธุรกิจต่างๆ ได้
ด้านธุรกิจการบิน
ธุรกิจสายการบินมีความจำเป็นต้องนำคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อให้สามารถให้บริการได้รวดเร็ว เพื่อการแข่งขันกับ สายการบินอื่น ๆ และเพื่อรักษาความปลอดภัยในการบินโดยช่วยตรวจสอบสภาพเครื่องและอุปกรณ์ได้ อย่างถูกต้องแน่นอนและสม่ำเสมอ ธุรกิจที่มีการนำ คอมพิวเตอร์มาใช้ด้านการบิน อาจแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ผู้โดยสาร สินค้าพัสดุภัณฑ์ และ บริการอื่น ๆ ของสายการบิน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือระบบบริการผู้โดยสาร อาจจะ เริ่มด้วยระบบบันทึกตารางการบิน ซึ่งบันทึกและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลเที่ยวบิน เส้นทางบิน เวลาออกและเวลาถึง จำนวนที่นั่ง สารนิเทศด้านการบริการผู้โดยสารมีความสำคัญอย่างมาก และจำเป็นต้องได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็ว โดยปราศจากปัญหาทางด้านเวลา และสถานที่ รายการบินต่าง ๆ จึงได้แข่งขันในการสร้างฐานข้อมูล ทางด้านนี้ บางสายการบินได้รวมตัวกัน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการใช้สารนิเทศร่วมกัน
ด้านกฎหมายและการปกครอง
ทางด้านกฎหมายและการปกครอง มีการใช้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหาด้านกฎหมาย คืองานระบบข้อมูล ทางกฎหมายมีการนำสารนิเทศที่เกี่ยวข้องกับตัวบทกฎหมายทุกฉบับ รัฐธรรมนูญทุกฉบับ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวงประกาศต่างๆและอื่น ๆ เข้าคอมพิวเตอร์ทั้งหมด หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์จะ ช่วยในการค้นสารนิเทศทางด้านกฏหมายได้อย่างรวดเร็ว ดังตัวอย่างในประเทศ สหรัฐอเมริกา มีการใช้คอมพิวเตอร์ระบบแอสเปน (Aspen System Corporation) ซึ่งเป็นระบบข้อมูล ทางด้านกฎหมายที่ใช้กันมากกว่า 50 แห่ง นักกฎหมายและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงได้ประโยชน์ในการ ค้นสารนิเทศในเวลา อันรวดเร็ว โดยเฉพาะในการค้นข้อมูลเกี่ยวกับคดีต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้น แล้ว เป็นต้น แทนที่จะค้นจากหนังสือ ซึ่งต้องเสียเวลาเป็นอันมาก การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการปกครอง ส่วนใหญ่ใช้ในกิจกรรมการเลือกตั้งดัง เช่นในประเทศไทย เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาล่าสุด มีการใช้คอมพิวเตอร์มาประมวล ผลข้อมูลการเลือกตั้ง ทำให้ประชาชนได้ทราบผลการเลือกตั้งได้อย่างรวดเร็ว
ด้านการทหารและตำรวจ
มีการใช้คอมพิวเตอร์ด้านการทหารและตำรวจ อย่างแพร่หลายในประเทศต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการทหารได้เจริญก้าวหน้าไปมากกว่า ประเทศอื่นใดในโลก แต่ผลงานด้านนี้มักจะเป็น ผลงาน ชนิดลับสุดยอดต่าง ๆ เท่าที่พอจะ ทราบกัน ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ในวงจรสื่อสารทหาร ใช้ในการควบคุม ประสานงาน ด้านการท หารใช้แปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ ใช้ในการผลิตระเบิดนิว เคลียร์ ใช้ในการทำสงครามจิตวิทยา ใช้ในการวิจัยเตรียมทำสงครามเชื้อโรค ใช้ในการสร้างขีปนาวุธ และใช้ในการส่ง ดาวเทียม จารกรรม เป็นต้น กรมตำรวจ กระทรวง มหาดไทย มีศูนย์ประมวลข่าวสารกรมตำรวจ มีคอมพิวเตอร์ ขนาดกลางใช้ทำทะเบียนปืน ทำทะเบียนประวัติอาชญากรรม ทำให้เกิดความสะดวกต่อการสืบสวนคดีต่าง ๆ
ด้านอุตสาหกรรมการพิมพ์และธุรกิจอื่น ๆ
บทบาทของคอมพิวเตอร์ต่อธุรกิจอุตสาหกรรมการพิมพ์ในปัจจุบันมีมาก หน่วยงานทางการพิมพ์ ตลอดจนสำนักข่าวใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดพิมพ์ต้นฉบับ ตรวจแก้ไข จนกระทั่งจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ทำให้การจัดทำหนังสือพิมพ์ วารสาร และหนังสือต่าง ๆดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว และถึงมือผู้อ่านได้อย่างทันท่วงที อุตสาหกรรมการพิมพ์เป็นธุรกิจที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศต่าง ๆ อยู่ในขณะนี้ และเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศ มีรายงานว่ามีเจ้าหน้าที่คนงานในประเทศ สหรัฐอเมริกากว่า 50 ล้านคน ได้ใช้ประโยชน์จากการใช้คอมพิวเตอร์ ในการดำเนินงาน ทางธุรกิจ มีการใช้อุปกรณ์สื่อสารระบบสำนักงาน อัตโนมัติและเทคโนโลยีโทรคมนาคมอื่น ๆ ร่วมกับคอมพิวเตอร์ทำให้การดำเนินงานทาง ธุรกิจต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ไม่มีปัญหา ทางด้านระยะเวลา และสถานที่ต่อการติดต่อทางธุรกิจอีกต่อไป
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์มีมาก ในสถาบันการศึกษา ตลอดจนสถาบันวิจัยต่าง ๆ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น การวิจัยในทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิชาว่าด้วยส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสาร การค้นคว้าทดลองทางวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างไม่หยุดยั้ง เช่น ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มีการใช้คอมพิวเตอร์ ให้มีส่วนร่วมต่อการออกแบบโครงสร้าง ทางวิศวกรรมที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน ทำให้มีส่วนช่วยต่อการออกแบบ ทางด้านวิศวกรรมและ สถาปัตยกรรมได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด บทบาทของคอมพิวเตอร์ทางด้านวิทยาศาสตร์จึงมี ประโยชน์ต่อการพัฒนาข้อมูลสารนิเทศอย่างไม่หยุดยั้ง
จากการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลสารนิเทศโดยระบบโทรคมนาคมคอมพิวเตอร์ มีบทบาทอย่างสูง ต่อการให้บริการข้อมูลอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ผู้ใช้สารนิเทศสามารถเรียกค้นข้อมูลจากผู้ให้บริการ สารนิเทศตั้งแต่เรื่องทั่ว ๆไปจนกระทั่งขอค้นรายละเอียดจากหนังสือสารานุกรมได้ และภายในบ้านเรือน คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการใช้ของสมาชิกภายในครอบครัวทุกคนภายในบ้าน มีโอกาสได้เล่นเกมวีดิทัศน์ ด้วยความบันเทิงสนุกสนาน และ ศึกษาความรู้จากบทเรียนสำเร็จรูป ไปด้วยในตัว คอมพิวเตอร์สำหรับบ้าน เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็น สำหรับนักธุรกิจในการจัดเตรียมจดหมาย การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลสารนิเทศส่วนบุคคล และ การดำเนินงานกิจการต่าง ๆ ของสมาชิกภายในครอบครัว บทบาทของคอมพิวเตอร์ ยังมีอีกมากมายทางด้านต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้สารนิเทศ ต้องการใช้ในด้านใด คอมพิวเตอร์เมื่อนำมาใช้รวมกับระบบโทรคมนาคมการสื่อสาร สามารถจะเปลี่ยนอนาคตของสังคมปัจจุบัน เปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนต่อการทำ กิจกรรมต่าง ๆ สิ่งที่บรรณารักษ์จะหลีกเลี่ยงต่อไปไม่ได้ คือการนำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูล ภายในห้องสมุดโรงเรียน นับตั้งแต่การนำมาใช้แทน เครื่องพิมพ์ดีดในขอบเขตของงานเอกสาร ตลอดจนกระทั่งถึงงานการให้บริการข้อมูลจากฐานข้อมูลสำเร็จรูป หรือ งานฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นเอง